วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


            บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์     


    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 2 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557  

ชื่อ นางสาว น้ำผึ้ง สุขประเสริฐ   กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น




นำเสนอ THAI TEACHER TV , RESEARCH 


THAI TEACHER TV
 - ผลการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 -การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดประสบการรณ์แบบโครงการและแบบสืบเสาะหาความรู้
- การคิดพิจารณาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางธรมชาติเนื้อสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
- ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติที่มีการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
Teachers TV
 - เรียนรู้วิทยาศาสตร์
  เสียงในการได้ยิน
 - เรื่องราวของเสียง 
 - จิตวิทยาศาตร์
 
สารสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน






การนำไปประยุกต์ใช้   (Application)  

     สำหรับการนำ THAI TEACHER TV , RESEARCH   ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมายและได้ประสบการณ์ ในการนำไปบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการเรียนรู้หลายๆวิธี ซึ่งที่เพื่อนๆได้ออกมานำเสนอ ล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งหมด การจัดการเรียนการสอนโดยล้วนอาศัยจากทักษะเหล่านี้โดยการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปเขียนแผนการสอนหรือจัดกิจกรรมให้กับเด้กปฐมวัยได้ 
    หลังจากทำกิจกรรมบ้านกับโรงเรียน วันนี้สามารถเรียนรู้ได้หลายกหลายแนวทาง ทั้งยังประสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับครอบครัวของเด็กๆ และครูสามารถบอกความรู้ที่ผู้ปกครองจะสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมที่บ้านได้อีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
self   -  แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนรายงาน และ จดตามที่เพื่อนอ่านใจความสำคัญ สรุปย่อๆตามที่ตัวเองเข้าใจ และช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี

Friends    -  เพื่อนๆตั้งใจเรียน เป็นบางคน ในภาพรวมถือว่าก็ดี เพื่อนที่ๆตั้งใจฟังอาจารย์สอนและร่วมกับตอบคำภาม ตามที่อาจารย์ถามในห้องเรียนและช่วยกันทำงานกลุ่มอย่างตั้งใจ

Teacher   -  อาจารย์จะคอยกระตุ้นใน นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดที่รวบยอด และอาจารย์ให้นำแผนการสอนแต่กลุ่ม กลับไปแก้ไขให้เรียบร้อย



     

      

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย



        เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ

          เด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ


บทคัดดย่อของ  ลดาวรรณ ดีสม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ โดยจำแนกหลายด้าน ดังนี้
       1.1 ด้านการสังเกต
       1.2 ด้านการวัด
       1.3 ด้านการหามิติสัมพันธ์
       1.4 ด้านการลงความเห็นจากข้อมูล
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ

ตัวแปรที่ศึกษา

1,ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ
2.ตัวแปรตาม   ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
    2.1 การสังเกต
    2.2 การวัด
    2.3 การหามิติสัมพันธ์
    2.4 การลงความเห็นจากข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ
2.แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัย ด้านการสังเกต การวัด การหามิติสัมพันธ์ และการลงความเห็นจากข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.76


สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

     1.พัฒนาการของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัยหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาาพโดยรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับดี
     2.การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01




วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที 15



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์     

    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน 2557  

ชื่อ นางสาว น้ำผึ้ง สุขประเสริฐ   กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น

      



ความรู้ที่ได้รับ (The Knowledgo Gained) 

สรุป THAI TEACHER TV , RESEARCH 

1. การกำเนิดของเสียง (โทรทัศน์ครู)
-                  ได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถามกับเด็ก เช่น เสียงต่างกันอย่างไร และ มาจากไหน
-                   กิจกรรมนี้ใช้ได้กับเด็กปฐมวัย จะต้องเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้ง่ายกว่าเดิมเพื่อที่จะเหมาะสมกับเด็ก


2. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย    RESEARCH (งานวิจัย)
  การเรียนรู้เรื่องสี คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก  สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้
นิยามศัพท์ ได้ทักษะการสังเกต  จำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์  ทักษะการลงความเห็น


3. สารอาหารในชีวิตประจำวัน (โทรทัศน์ครู)
        มโนทัศน์การเรียนรู้ การปรุงอาหารเกิดจากการผสมส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างถูกต้องตามชื่ออาหารนั้นให้ได้รสที่ต้องการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ ปรุงอาหารเป็น รู้จักรสอาหาร เช่น เค็ม เปรี้ยว หวาน สนุกกับการทำงานร่วมกับเพื่อน
สิ่งที่เด็กต้องปฏิบัติ ช่วยกันวางแผนปรุงอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งที่กลุ่มเลือก และช่วยกันปรุงอาหารนั้น


4. ไฟฟ้าและพันธุ์พืช (โทรทัศน์ครู)
         สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้ยอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการณ์เจริญเติบโตของพืช จากนั้น ให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช ซึ่งจากการที่เด็กได้ลงมือทำแล้ว มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลองเด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์


5. การเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย  RESEARCH (งานวิจัย)
        กิจกรรมส่งให้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับทักษะความรู้ ซึ่งแสงได้อยู่รอบๆตัวเรา และนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องของแสง  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กปฐมวัย


6. การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมทำเครื่องดื่มสมุนไพร RESEARCH (งานวิจัย)
ทักษะที่ได้จากการทำกิจกรรม
 -ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนก
-ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล
สรุปวิจัย
เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำน้ำสมุนไพร



กิจกรรมในห้องเรียน




"การทำวาฟเฟิล"











วัสดุอุปกรณ์ 


  1. ไข่ไก่ egg


   2. เนย Butter


      3. แป้ง powder


4. น้ำ water


5. ถ้วย cup


   6. ช้อน spoon


ขั้นตอนการทำ

- เริ่มผสมแป้งและตอกไข่ ใส่เนย เติมน้ำทีละนิด แล้วตีแป้งและส่วนประกอบอื่นๆให้เข้ากัน จนได้เนื้อแป้งที่ไม่เหลวและแข็งจนเกินไป
- เมื่อได้แป้งตามที่ต้องการ ตักใส่ถ้วยตวงเพื่อนำไปอบ ขณะเทแป้งลงเครื่องอบ ควรเทตรงกลางเพื่อให้แป้งสามารถกระจายได้ทั่วถึง เมื่ออบเสร็จแล้วจะได้ วอฟเฟิล น่าตาน่าทานค่ะ 
เป็นขั้นตอนง่ายๆไม่ซับซ้อนสามารถทำเอง และ สอนเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย



การนำไปประยุกต์ใช้   (Application)    

       

   สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟังเพื่อนออกมานำเสนอและที่อาจารย์อธิบายให้ฟังสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เพราะบางกิจกรรมบางวิจัยที่ศึกษาสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนเด็กในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับเด็กได้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้



ประเมินตนเอง (Self)

      ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น


 ประเมินเพื่อน (Friend)  

     เพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีทักษะมีการจัดกิจกรรมอย่างไรวิธีการทำการดำเนินกิจกรรมต่างๆมีการช่วยกันตอบคำถามกับอาจารย์อย่างสนุนสนานมีการพูดคุยโต้แย้งถึงข้อสงสัยที่เกิดขึ้นและร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างสนุกสนาน


 ประเมินอาจารย์ (Teacher)  

        อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการทำของงานวิจัยและการจัดกิจกรรมของโทรทัศน์ว่าเขาใช้วิธีอะไรมีการสอนอย่างไรมีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กเกิดข้อสงสัยและเกิดกระบวนการคิดการหาคำตอบมีการอธิบายและสรุปถึงเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนออย่างเข้าใจชัดเจน




วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์     

    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 18 เดือน พฤศจิกายน 2557  

ชื่อ นางสาว น้ำผึ้ง สุขประเสริฐ   กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น

      



ความรู้ที่ได้รับ (The Knowledgo Gained) 

       นำเสนอแผนการสอน


             

       1.หน่วย นกหงส์หยก  


สอนเรื่อง ชนิด และลักษณะ ของนกหงส์หยก







    2. หน่วย สับปะรด


สอนเรื่องประโยชน์ของสับปะรด และ ข้อควรระวังของสับปะรด



 3.หน่วย ส้ม

สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวังของส้ม





  
   
  นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู 


 1.นางสาว                                  
 เรื่องโทรทัศน์ครู เรื่อง นม+สี+น้ำยาล้างจานสำหรับเด็กอนุบาล

        เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นพัฒนาการ การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิว เริ่มจากการเทน้ำนมใส่จาน หยดสีลงไปในนม(สีเป็นสีผสมอาหารปลอดภัยกับเด็ก)แล้วหยดน้ำยาล้างจานลงไป เราจะเห็นนมไหลเวียนแล้วพาสีวิ่งเป็นสายและลวดลายต่าง ๆ สาเหตุก็คือน้ำยาล้างจานทำให้แรงตึงผิวลดลงไป นมที่อยู่ใกล้น้ำยาล้างจานจึงแตกกระจายและนมจากส่วนอื่นก็ไหลมาแทนที่(กลายเป็น"กระแสนม")และวิ่งชนสีและพาสีวิ่งไปด้วย กลายเป็นลวดลายต่าง ๆ ตอนแรกลักษณะของสีก็เป็นหยด ๆ ไม่มีการกระจายตัว เพราะว่านมมีแรงตึงผิวที่พยายามจะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้(ซึ่งแรงตึงผิวนี้เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลว)แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ผสมลงน้ำนม น้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ทำให้สีสามารถกระจายตัวออกไปในน้ำนม เมื่อเด็ก ๆ เห็นการกระจายตัวของสี   เด็ก ๆ ตื่นเต้นและอยากที่จะออกมาเป็นตัวแทนในการทำการทดลอง เด็กทุกคนจะได้ปฏิบัติคนละหนึ่งขั้นตอน 

 2.นางสาว จุทาภรณ์  แก่นแก้ว 
 เรื่องสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส

เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อสร้างความพร้อมพื้นฐาน ให้กับเด็กในด้านสังคม ร่างกาย
 สติปัญญา
กิจกรรมสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรมประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการกระตุ้น ท้าทายความคิด ฝึกแก้ปัญหาและฝึกจินตนาการของมนุษย์ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้เด็กฉลาดได้
ครูใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน กระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเอง และบุคคลอื่น 
กิจกรรมพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

  3.นางสาว  รัตติพร     ยังชัย
เรื่องการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลป
สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.ให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (Active Learning) การลงมือกระทำจริงด้วยตนเองการได้รับประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

2.จัดกิจกรรมตามสภาพจริง (Authentic activity) การจัดกิกรรมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่เป็นการส่งเสริมดารเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

3. ด้านประสบการณ์เดิมของเด็ก (prior knowledge) การเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็ก

4. สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก (Teacher and Child interaction) ครูต้องเป็นผู้ให้ คำแนะนำ กำลังใจ เอื้ออำนวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

5. สะท้อนความคิด (Reflective thinking) ระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ การสะท้อนความคิดเป็นลักษณะหนึ่งที่ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรองถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระทำที่ปฏิบัติลงไป

  
4.นางสาว  อนุสรา     แก้วชู


 5.นางสาว  รัชดาภรณ์  มณีศรี

 6.นางสาว  น้ำผึ้ง       สุขประเสริฐ   เรื่อง ดินน้ำมันลอยได้อย่างไร



       กิจกรรมในห้องเรียน



"ไข่เทอริยากิ"

           เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้สอนเด็กได้เพราะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากวิธีการทำก็ง่ายอุปกรณ์ส่วนผสมก็หาได้ทั่วไปแถมยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วยส่วนผสม 



ส่วนประกอบ

 1.ไข่ไก่ (Egg)      
  2.ข้าวสวย (Rice)        
 3.ผักต่างๆ (แครอทcarrot /ต้นหอม leek)         
 4.ปูอัด (a crab compresses)        
 5.ซอสปรุงรส        
 6.เนย (better)

  วิธีการทำ        

1.ตีไข่ใส่ชาม     
 2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี       
 3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ         
4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้ 


การนำไปประยุกต์ใช้   (Application)                         

             สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผนการสอนการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียนรวมถึงวิธีการสอนเทคนิคต่างๆสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กในอนาคตของเราได้จริง  เพราะการเขียนแผนรวมถึงวิธีการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จะเป็นครูต้องสามารถเขียนแผนการสอนและสามารถนำแผนที่เขียนนั้นไปสอนเด็กให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างถูกต้องและเป็นขั้นตอนและต้องเขียนแผนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย


ประเมินตนเอง (Self)                

       ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน(Friends)                

       เพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนที่เพื่อนควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อนๆร่วมทำกิจกรรมและสนใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอได้ดี และร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์  (Teacher)               

        อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการสอนว่ามีตรงไหนที่เราคิดว่าไม่ถูกต้องควรปรับปรุงควรสอนแบบไหนก่อนก่อนที่จะไปสอนอีกแบบหนึ่งมีการถามให้เราเกิดความคิดและความเข้าใจในวิธีการสอนนั้นจริงๆและสามารถนำเทคนิคและวิธีการต่างๆไปสามารถใช้กับเด็กได้จริงในอนาคต มีการนำอุปกรณ์การประกอบอาหารมาให้นักศึกษาทำเพื่อที่สามารถนำไปใช้สอนกับเด็กในเรื่องของการประกอบอาหาร