วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย



        เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ

          เด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ


บทคัดดย่อของ  ลดาวรรณ ดีสม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

1.เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ โดยจำแนกหลายด้าน ดังนี้
       1.1 ด้านการสังเกต
       1.2 ด้านการวัด
       1.3 ด้านการหามิติสัมพันธ์
       1.4 ด้านการลงความเห็นจากข้อมูล
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ

ตัวแปรที่ศึกษา

1,ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ
2.ตัวแปรตาม   ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
    2.1 การสังเกต
    2.2 การวัด
    2.3 การหามิติสัมพันธ์
    2.4 การลงความเห็นจากข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

1.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ
2.แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัย ด้านการสังเกต การวัด การหามิติสัมพันธ์ และการลงความเห็นจากข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.76


สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

     1.พัฒนาการของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัยหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาาพโดยรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับดี
     2.การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01




วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที 15



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์     

    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน 2557  

ชื่อ นางสาว น้ำผึ้ง สุขประเสริฐ   กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น

      



ความรู้ที่ได้รับ (The Knowledgo Gained) 

สรุป THAI TEACHER TV , RESEARCH 

1. การกำเนิดของเสียง (โทรทัศน์ครู)
-                  ได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถามกับเด็ก เช่น เสียงต่างกันอย่างไร และ มาจากไหน
-                   กิจกรรมนี้ใช้ได้กับเด็กปฐมวัย จะต้องเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้ง่ายกว่าเดิมเพื่อที่จะเหมาะสมกับเด็ก


2. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย    RESEARCH (งานวิจัย)
  การเรียนรู้เรื่องสี คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก  สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้
นิยามศัพท์ ได้ทักษะการสังเกต  จำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์  ทักษะการลงความเห็น


3. สารอาหารในชีวิตประจำวัน (โทรทัศน์ครู)
        มโนทัศน์การเรียนรู้ การปรุงอาหารเกิดจากการผสมส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างถูกต้องตามชื่ออาหารนั้นให้ได้รสที่ต้องการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ ปรุงอาหารเป็น รู้จักรสอาหาร เช่น เค็ม เปรี้ยว หวาน สนุกกับการทำงานร่วมกับเพื่อน
สิ่งที่เด็กต้องปฏิบัติ ช่วยกันวางแผนปรุงอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งที่กลุ่มเลือก และช่วยกันปรุงอาหารนั้น


4. ไฟฟ้าและพันธุ์พืช (โทรทัศน์ครู)
         สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้ยอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการณ์เจริญเติบโตของพืช จากนั้น ให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช ซึ่งจากการที่เด็กได้ลงมือทำแล้ว มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลองเด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์


5. การเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย  RESEARCH (งานวิจัย)
        กิจกรรมส่งให้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับทักษะความรู้ ซึ่งแสงได้อยู่รอบๆตัวเรา และนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องของแสง  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กปฐมวัย


6. การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมทำเครื่องดื่มสมุนไพร RESEARCH (งานวิจัย)
ทักษะที่ได้จากการทำกิจกรรม
 -ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนก
-ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล
สรุปวิจัย
เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำน้ำสมุนไพร



กิจกรรมในห้องเรียน




"การทำวาฟเฟิล"











วัสดุอุปกรณ์ 


  1. ไข่ไก่ egg


   2. เนย Butter


      3. แป้ง powder


4. น้ำ water


5. ถ้วย cup


   6. ช้อน spoon


ขั้นตอนการทำ

- เริ่มผสมแป้งและตอกไข่ ใส่เนย เติมน้ำทีละนิด แล้วตีแป้งและส่วนประกอบอื่นๆให้เข้ากัน จนได้เนื้อแป้งที่ไม่เหลวและแข็งจนเกินไป
- เมื่อได้แป้งตามที่ต้องการ ตักใส่ถ้วยตวงเพื่อนำไปอบ ขณะเทแป้งลงเครื่องอบ ควรเทตรงกลางเพื่อให้แป้งสามารถกระจายได้ทั่วถึง เมื่ออบเสร็จแล้วจะได้ วอฟเฟิล น่าตาน่าทานค่ะ 
เป็นขั้นตอนง่ายๆไม่ซับซ้อนสามารถทำเอง และ สอนเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย



การนำไปประยุกต์ใช้   (Application)    

       

   สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟังเพื่อนออกมานำเสนอและที่อาจารย์อธิบายให้ฟังสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เพราะบางกิจกรรมบางวิจัยที่ศึกษาสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนเด็กในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับเด็กได้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้



ประเมินตนเอง (Self)

      ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น


 ประเมินเพื่อน (Friend)  

     เพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีทักษะมีการจัดกิจกรรมอย่างไรวิธีการทำการดำเนินกิจกรรมต่างๆมีการช่วยกันตอบคำถามกับอาจารย์อย่างสนุนสนานมีการพูดคุยโต้แย้งถึงข้อสงสัยที่เกิดขึ้นและร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างสนุกสนาน


 ประเมินอาจารย์ (Teacher)  

        อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการทำของงานวิจัยและการจัดกิจกรรมของโทรทัศน์ว่าเขาใช้วิธีอะไรมีการสอนอย่างไรมีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กเกิดข้อสงสัยและเกิดกระบวนการคิดการหาคำตอบมีการอธิบายและสรุปถึงเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนออย่างเข้าใจชัดเจน




วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์     

    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 18 เดือน พฤศจิกายน 2557  

ชื่อ นางสาว น้ำผึ้ง สุขประเสริฐ   กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น

      



ความรู้ที่ได้รับ (The Knowledgo Gained) 

       นำเสนอแผนการสอน


             

       1.หน่วย นกหงส์หยก  


สอนเรื่อง ชนิด และลักษณะ ของนกหงส์หยก







    2. หน่วย สับปะรด


สอนเรื่องประโยชน์ของสับปะรด และ ข้อควรระวังของสับปะรด



 3.หน่วย ส้ม

สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวังของส้ม





  
   
  นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู 


 1.นางสาว                                  
 เรื่องโทรทัศน์ครู เรื่อง นม+สี+น้ำยาล้างจานสำหรับเด็กอนุบาล

        เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นพัฒนาการ การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิว เริ่มจากการเทน้ำนมใส่จาน หยดสีลงไปในนม(สีเป็นสีผสมอาหารปลอดภัยกับเด็ก)แล้วหยดน้ำยาล้างจานลงไป เราจะเห็นนมไหลเวียนแล้วพาสีวิ่งเป็นสายและลวดลายต่าง ๆ สาเหตุก็คือน้ำยาล้างจานทำให้แรงตึงผิวลดลงไป นมที่อยู่ใกล้น้ำยาล้างจานจึงแตกกระจายและนมจากส่วนอื่นก็ไหลมาแทนที่(กลายเป็น"กระแสนม")และวิ่งชนสีและพาสีวิ่งไปด้วย กลายเป็นลวดลายต่าง ๆ ตอนแรกลักษณะของสีก็เป็นหยด ๆ ไม่มีการกระจายตัว เพราะว่านมมีแรงตึงผิวที่พยายามจะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้(ซึ่งแรงตึงผิวนี้เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลว)แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ผสมลงน้ำนม น้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ทำให้สีสามารถกระจายตัวออกไปในน้ำนม เมื่อเด็ก ๆ เห็นการกระจายตัวของสี   เด็ก ๆ ตื่นเต้นและอยากที่จะออกมาเป็นตัวแทนในการทำการทดลอง เด็กทุกคนจะได้ปฏิบัติคนละหนึ่งขั้นตอน 

 2.นางสาว จุทาภรณ์  แก่นแก้ว 
 เรื่องสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส

เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อสร้างความพร้อมพื้นฐาน ให้กับเด็กในด้านสังคม ร่างกาย
 สติปัญญา
กิจกรรมสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรมประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการกระตุ้น ท้าทายความคิด ฝึกแก้ปัญหาและฝึกจินตนาการของมนุษย์ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้เด็กฉลาดได้
ครูใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน กระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเอง และบุคคลอื่น 
กิจกรรมพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

  3.นางสาว  รัตติพร     ยังชัย
เรื่องการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลป
สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.ให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (Active Learning) การลงมือกระทำจริงด้วยตนเองการได้รับประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

2.จัดกิจกรรมตามสภาพจริง (Authentic activity) การจัดกิกรรมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่เป็นการส่งเสริมดารเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

3. ด้านประสบการณ์เดิมของเด็ก (prior knowledge) การเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็ก

4. สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก (Teacher and Child interaction) ครูต้องเป็นผู้ให้ คำแนะนำ กำลังใจ เอื้ออำนวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

5. สะท้อนความคิด (Reflective thinking) ระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ การสะท้อนความคิดเป็นลักษณะหนึ่งที่ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรองถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระทำที่ปฏิบัติลงไป

  
4.นางสาว  อนุสรา     แก้วชู


 5.นางสาว  รัชดาภรณ์  มณีศรี

 6.นางสาว  น้ำผึ้ง       สุขประเสริฐ   เรื่อง ดินน้ำมันลอยได้อย่างไร



       กิจกรรมในห้องเรียน



"ไข่เทอริยากิ"

           เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้สอนเด็กได้เพราะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากวิธีการทำก็ง่ายอุปกรณ์ส่วนผสมก็หาได้ทั่วไปแถมยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วยส่วนผสม 



ส่วนประกอบ

 1.ไข่ไก่ (Egg)      
  2.ข้าวสวย (Rice)        
 3.ผักต่างๆ (แครอทcarrot /ต้นหอม leek)         
 4.ปูอัด (a crab compresses)        
 5.ซอสปรุงรส        
 6.เนย (better)

  วิธีการทำ        

1.ตีไข่ใส่ชาม     
 2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี       
 3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ         
4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้ 


การนำไปประยุกต์ใช้   (Application)                         

             สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผนการสอนการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียนรวมถึงวิธีการสอนเทคนิคต่างๆสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กในอนาคตของเราได้จริง  เพราะการเขียนแผนรวมถึงวิธีการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จะเป็นครูต้องสามารถเขียนแผนการสอนและสามารถนำแผนที่เขียนนั้นไปสอนเด็กให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างถูกต้องและเป็นขั้นตอนและต้องเขียนแผนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย


ประเมินตนเอง (Self)                

       ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน(Friends)                

       เพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนที่เพื่อนควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อนๆร่วมทำกิจกรรมและสนใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอได้ดี และร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์  (Teacher)               

        อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการสอนว่ามีตรงไหนที่เราคิดว่าไม่ถูกต้องควรปรับปรุงควรสอนแบบไหนก่อนก่อนที่จะไปสอนอีกแบบหนึ่งมีการถามให้เราเกิดความคิดและความเข้าใจในวิธีการสอนนั้นจริงๆและสามารถนำเทคนิคและวิธีการต่างๆไปสามารถใช้กับเด็กได้จริงในอนาคต มีการนำอุปกรณ์การประกอบอาหารมาให้นักศึกษาทำเพื่อที่สามารถนำไปใช้สอนกับเด็กในเรื่องของการประกอบอาหาร




















วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุป โทรทัศน์ครู



  เรื่อง  ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
  โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี
  ชื่อ-นามสกุลผู้วิเคราะห์  คุณครู ปราณี ศรีรักแก้ว


ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร

     

          ปั่นอย่างไรให้ลอยน้ำได้ คือ เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   เพื่อให้เด็กมีพื้นฐานทางการ สังเกต  คิดวิเคราะห์ ครูจะสร้างความสนใจให้เด็ก ทำยังไงเพื่อที่จะให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์   

-ขั้นตอนการสอน

   1.ครูให้เด็กเรียนโดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ จากกระบวนการที่ ครูปั่นดินน้ำมันโดยเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจตุรัส วงกลม สามเหลี่ยม จำนวน สี จากนั้นครูออกแบบ จัดกระบวนการสังเกตสี สำรวจ ให้มีระบบการคิด ออกแบบเป็นแผนภูมิ หลังจากเด็กทำกิจกรรมแผนภูมิรูปภาพเสร็จเรีบยร้อย  จากการสำรวจจากดินน้ำมัน ครูก็จะแจกใบงาน ใบงานจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  โดยเด็กเรียนเรื่องนี้ต้องมีการคาดคะเนว่า ดินน้ำมันที่เด็กปั่นขึ้นมาเป็นรูปร่างอะไร เด็กต้องเป็นคนคิดเอง เป็นการออกแบบรูปร่างที่เด็กจะปั่น
  2.ให้เด็กออกมานำเสนอผลงานกลุ่มว่า แต่ละกลุ่มปั่นอะไร แล้วจะลอยไหม และให้เด็กฟังกลุ่มอื่นด้วย ว่าทำอย่างไร เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเด็กแต่ละกลุ่ม


สิ่งที่เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร


- เด็กได้ทักษะการสังเกตสีของดินน้ำมัน รูปทรงของดินน้ำมัน คือที่เด็กจะปั่นเป็นรูปร่างอย่างไร เมื่อปั่นแล้วเปลี่ยนแปลงรูปอะไรถึงลอยน้ำได้ 
- เด็กได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง คิดด้วยตนเอง ปฎิบัติจริงด้วยตนเองและได้ออกแบบจากการคิดของเด็ก ซึ่งการออกแบบเป็นการบูรณาการไปยังเทคโนโลยี จากการออกแบบเกิดจากการตั้งสมมุติฐาน คือการคาดเดาของเด็กว่าปั่งยังไงหใดลอยน้ำ
- เด็กได้พัฒนาด้านการใช้ภาษา การสื่อสาร การอธิบาย การได้พูดคุยกัน เป็นการได้ทางสังคม


สิ่งที่เด็กได้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 


- เด็กได้ทักษะกระบวนการสังเกต สื่อความหมาย ได้ตั้งสมมุติฐาน ได้ทดลอง ปฎิบัติจริง และได้ลงความเห็นว่าสิ่งที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง





วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่13


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์     

       วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 11 เดือน พฤศจิกายน 2557  

ชื่อ นางสาว น้ำผึ้ง สุขประเสริฐ   กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น

                 

  วันนี้อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มออกมานำสอนแผนการสอน


    หน่วยที่ 1 สอนแผนเกี่ยวกับบอกชื่อผลไม้แต่ล่ะชนิด



           หน่วยที่ 2 สอนแผนเกี่ยวกับการทำอาหาร น้ำแตงโมปั่น





หน่วยที่ 3 สอนแผนเกี่ยวกับบอกชนิดและชื่อช้าง




หน่วยที่ 4 สอนแผนประโยชน์และข้อควรระวังของข้าวโพด





             หน่วยที่ 5 สอนแผนประโยชน์และข้อควรระวังของกล้วย



หน่วยที่ 6 สอนแผนลักษณะของผีเสื้อ